มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลตรวจ ไส้กรอก ในอยุธยา

เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 65 ที่ผ่านมา ได้มีการเผยเพร่ผลตรวจ ไส้กรอก ในอยุธยา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยผ่านเพจเฟซบุ๊กว่า ฉลาดซื้อจับมือองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง เผยผลทดสอบวัตถุกันเสียในไส้กรอก พื้นที่ จ.อยุธยา พบทุกตัวอย่างปนเปื้อนสารที่ อย. ไม่อนุญาตให้ใช้

ฉลาดซื้อ ร่วมกับองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง สสส. เผยผลทดสอบวัตถุกันเสียในไส้กรอก จำนวน 17 ตัวอย่าง ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ตลาดวังน้อย เมืองใหม่, ตลาดเจ้าพรหม, ห้างเเมคโคร อยุธยา เเละร้านซีพีเฟรชมาร์ท สาขาอยุธยา เดชาวุธ เนื่องจากพบโรงงานผลิตไส้กรอกไม่ได้มาตรฐานใน จ.พระนครศรีอยุธยา

ภก.สันติ โฉมยงค์ เภสัชกร องค์กรผู้บริโภคภาคกลาง กล่าวสรุปผลทดสอบว่า

1.พบสารไนเตรทในทุกตัวอย่าง ปริมาณตั้งเเต่ 20.67 – 112.61 มก./กก. ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 ไม่อนุญาตให้ใช้สารไนเตรทในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บดเเละผ่านกรรมวิธีโดยใช้ความร้อน (ไส้กรอกสุก หมูยอ ไก่ยอ ลูกชิ้น)

2.พบสารซอร์บิก ปริมาณเกินมาตรฐาน 1 ตัวอย่าง ได้เเก่ ฮอทดอกไก่ (ไส้กรอกไก่) ตราพีเเอนด์เจ ปริมาณ 2191.75 มก./กก. ซึ่งเกินมาตรฐานที่กำหนด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 ที่อนุญาตให้ใช้กรดซอร์บิก ซึ่งเป็นสารกันเสีย ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บดเเละผ่านกรรมวิธี ได้ไม่เกิน 1500 มก./กก. โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามใช้ร่วมกับสารกันเสียในกลุ่มไนไตรท์

3.พบสารเบนโซอิก 3 ตัวอย่าง ได้เเก่ Kfm ไส้กรอกไก่รมควันหนังกรอบ ป๊อบปูล่า ปริมาณ 148.28 มก./กก., ฮอทดอกไก่ (ไส้กรอกไก่) ตราพีเเอนด์เจ ปริมาณ 58.87 มก./กก. เเละ CFP ไส้กรอกจัมโบ้หมูรมควันหนังกรอบ ปริมาณ 41.05 มก./กก. ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 ไม่มีเกณฑ์กำหนดให้ใช้วัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก

4.พบสารไนไตรท์ใน 12 ตัวอย่าง ไม่พบ 5 ตัวอย่าง ทั้งนี้ปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (<10.00 – 53.74 มก./กก.) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 อนุญาตให้ใช้สารกลุ่มไนไตรท์ ในปริมาณไม่เกิน 80 มก./กก.

นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล อนุกรรมการด้านอาหาร ยา เเละผลิตภัณฑ์สุขภาพ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคในฐานะองค์กรที่ทำหน้าที่เเทนผู้บริโภค มีข้อเรียกร้องไปยัง อย. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูเเล เเละข้อเเนะนำไปยังหน่วยงานอื่นเเละผู้บริโภค เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัຍจากการใช้สินค้าเเละบริการ ดังนี้

1. เรียกร้องให้ อย. ประสานข้อมูลกับพื้นที่เเละพัฒนาระบบเฝ้าระวังเเละระบบเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพเเละทันการณ์มากยิ่งกว่านี้ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเเละเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นซ้ำอีก โดยมีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1.1 เชื่อมโยงข้อมูลทั้งระบบเข้าด้วยกันเพื่อความสะดวกในการส่งต่อข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทั้งส่วนกลางเเละภูมิภาค นอกจากนี้ยังต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับสถานพยาบาลที่มักเป็นเเหล่งที่มีผู้ป่วຍจากการกินหรือใช้ผลิตภัณฑ์อันตรายเข้ารักษาตัวด้วย

1.2 นำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการทำงานเพื่อให้เกิดระบบการเฝ้าระวังเเละตรวจจับอัตโนมัติ เพื่อเตือนภัยผู้บริโภคได้ทันเหตุการณ์หากเจอผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภั

1.3 สนับสนุนให้ผู้บริโภคเเละเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง โดยใช้เทคโนโลยีที่ง่าย ไม่ซับซ้อนเเละส่งต่อข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ส่งต่อข้อมูลจากสถานพยาบาลไปยังจังหวัดที่พบเด็กป่วຍจากการกินไส้กรอกเเละให้จังหวัดเหล่านั้นตรวจสอบพิสูจน์ต่อว่าโรงงานผลิตไส้กรอกที่มีอยู่ในจังหวัดขออนุญาตถูกต้องหรือไม่

เเละ ไส้กรอกที่ผลิตใส่สารกลุ่มไนเตรทหรือไนไตรท์เกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ หากพบว่าผิดกฎหมายจะต้องดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับผู้ผลิต ไม่ควรทำเพียงเเค่การตักเตือน เนื่องจากมีผู้ที่ได้รับอันตรายจากการกินอาหารอันตรายเข้าไป

3. ผู้บริโภคจะต้องไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีฉลากระบุอยู่ เเละต้องให้ข้อมูลหรือส่งต่อข้อมูลให้กับบุตรหลานเเละผู้บริโภครายอื่นๆ อีกทั้งยังต้องช่วยกันเฝ้าระวังเเละส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบติดตาม

แหล่งที่มา consumerthai.org / amarintv

เรียบเรียงโดย baansuann.com