เปิดรับ 1 ล้านตำแหน่ง ช่วยเหลือคนตกงาน ให้พ้นวิกฤตโควิด-19

วันนี้เรามีข่าวดีมาฝาก สำหรับคนที่กำลังตกงานหรือคนที่กำลังมองหางานทำอยู่ เมื่อไม่นานมานี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่องการส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินการตามภารกิจขององค์กร ระหว่างคณะกรรมาธิการการแรงงานกับกระทรวงแรงงาน

เพื่อการเพิ่มผลิตภาพและสร้างภาวะสันติสุขในสังคมอุตสาหกรรมของประเทศในทุกมิติในจังหวัดพื้นที่เสี่ยง และเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่โรงแรมภูสักธาร รีสอร์ต อ.เมือง จ.นครนายก

นายสุชาติ กล่าว พิเศษในหัวข้อนโยบายการบริหารแรงงงานและภารกิจของกระทรวงแรงงาน ในภาวะวิกฤติการ และผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงาน ว่าจากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อภาคแรงงานเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมีหลายสื่อ หลายสำนักเปิดเผยตัวเลขผู้ว่างงาน ระบุว่าจากผลกระทบดังกล่าวส่งผล กระทบต่อแรงงาน คือแรงงานมีความเสี่ย งต่อการถูกเลิกจ้าง

โดยปัจจุบันสิ่งที่สำคัญคือ ตัวเลขต่างๆ ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้การวางแผนและแก้ไขนั้นถูกต้อง โดยกระทรวงแรงงานมีตัวเลขผู้ประกันตนขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา

ซึ่งจากฐานข้อมูลที่ชัดเจนมีตัวเลข จำนวน 933,367 คน เป็นเงิน 14,982.717 ล้านบาท (ข้อมูลณ วันที่ 25 สิงหาคม 2563) ในกลุ่มนี้ต้องช่วยกันดูแลและออกมาตรการเพื่อมาช่วยเหลือทั้งลูกจ้างและผู้ประกอบการ

เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา ผมมอบนโยบายให้ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงแรงงานทุกคน เพื่อเร่งขับเคลื่อนภารกิจสำคัญที่จะช่วยเหลือและเยียวยาแรงงานผู้ได้รับผลกระทบ ให้เป็นไปตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี

โดยเฉพาะประเด็นเร่งด่วนที่ต้องทำให้สำเร็จภายในปีนี้ คือการจัดงานไทยแลนด์ จ๊อบ เอ็กซ์โป 2020 (Thailand Job Expo 2020) ที่จะจัดขึ้นในเดือนกันยายนนี้มีตำแหน่งงาน 1 ล้านตำแหน่ง

จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ ของทุกกระทรวงมารวมกันเพื่อจับคู่ (Matching) ระหว่างงานกับคน โดยมี Platform ไทยมีงานทำ.com เป็นแหล่งรวบรวมตำแหน่งงานว่างงานเหล่านี้ นายสุชาติ กล่าว

นอกจากนี้ นายสุชาติ กล่าวว่า ยังมีมาตรการสนับสนุนการจ้างงานผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ และมาตรการสนับสนุนการจ้างงานเพื่อคนว่างงานในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยนายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องอยู่ในระบบประกันสังคม และนายจ้างต้องไม่เลิกจ้างลูกจ้างเดิมเกินกว่าร้อยละ 15 ภายใน 1 ปี

มาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา เพื่อให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สัญชาติไทย กลุ่มที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ที่ได้รับผลกระทบ ได้รับการช่วยเหลือและเยียวยา โดยมีเป้าหมายเป็นจำนวน 59,776 คน

ยังมีมาตรการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้นายจ้างและผู้ประกันตน จากเดิมฝ่ายละร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 2 ของค่าจ้าง ระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ย.- พ.ย.63

จากมาตรการนี้ จะช่วยรักษาระดับการจ้างงาน และเพิ่มกำลังซื้อของตลาดในประเทศรวมเป็นเงินที่ลดให้ทั้งผู้ประกันตนและนายจ้าง เป็นเงินประมาณ 23,000 ล้านบาท จาก 12.92 ล้านคน มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการที่กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน

โดยปลอดดอกเบี้ย (ดอกเบี้ย 0%) ตลอดระยะเวลา 12 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.-31 ส.ค.64 ผู้ประกอบกิจการสามารถกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการพัฒนาฝีมือแรงงาน วงเงินกู้ยืมแห่งละไม่เกิน 1 ล้านบาท

โดยในปี 2564 มีวงเงินให้กู้กว่า 100 ล้านบาท และมาตรการเชิงรุกให้ลูกจ้างที่ว่างงานได้รับสิทธิประโยชน์โดยเร็ว โดยบูรณาการร่วมกันเฝ้าระวังสถานประกอบกิจการที่คาดว่าจะเลิกจ้าง การให้บริการเชิงรุกเพื่อให้จ่ายสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม ถูกต้อง ครบถ้วน และรวดเร็ว รมว.แรงงาน กล่าว

ทั้งนี้ นายสุชาติ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานจะใช้กลไกขับเคลื่อนโดยตั้งศูนย์อำนวยการแรงงานแห่งชาติ (ศอร.) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการกำกับ ติดตามสถานการณ์ด้านแรงงานอย่างรวดเร็ว ฉับไว และทันต่อสถานการณ์ รายงานผลการปฏิบัติอย่างทันท่วงที เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันต่อความต้องการความช่วยเหลือของผู้ได้รับผลกระทบ

รวมทั้งบูรณาการการทำงานเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาล มุ่งมั่นให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในศตวรรษที่ 21 และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการ และขอให้หัวหน้าส่วนราชการทุกท่านมุ่งพัฒนาด้านแรงงานเพื่อประเทศชาติต่อไป

แหล่งที่มา: siamnews

เรียบเรียงโดย baansuann.com