ตาขี่มอเตอร์ไซค์ มางานฌาปนกิจหลาน แต่ไม่ได้เข้าไปในงาน เหตุผลเหมือนฟ้าผ่ากลางหัวใจ

เปิดเรื่องราวของตารายหนึ่ง ออกจากบ้านบุรีรัมย์ มางานฌาปนกิจหลานที่ขอนแก่น ขี่ จยย. สามร้อยกิโลเมตรพอถึงงาน น้องสาวจะมาทวงเงินเหรอ ไม่รู้จะทำยังไง เดินไปค้อม จยย. แล้วรีบขี่ออกมา แวะนอนพักที่ปั้มเจอหนุ่มใจดีเข้าช่วยเหลือ

ในเพจเฟสบุ๊กของ Rachot Wangkahart ได้โพสต์ข้อความเรื่องราว ที่เกิดขึ้น ณ ขอนแก่นผมแวะเข้าห้องน้ำปั๊ม ระหว่างทางที่ขี่มอไซฯกลับบ้าน

หลังจากไปสังสรรค์กับเพื่อน ๆ ขณะผมจอดรถ ชายสูงอายุคนนึง ขี่มอไซเวฟ สีส้มเก่า ๆ ไฟท้ายไม่มี เบาะรถถูกหุ้มด้วยกระดาษ ขับตรงเข้ามาหาผม

วินาทีแรก ผมคิดว่าเป็นคนเมา มาขอเงินแน่ ๆ ผมรีบสร้างการ์ดป้องกันตัวทันที พยายามชิงพูด และถามก่อน “ตามีอะไร?ตามาจากไหน? บ้านตาอยู่ไหน?

บ้านตาอยู่บุรีรัมย์……ไม่ตา ผมหมายถึงบ้านตาที่ขอนแก่นอยู่ที่ไหน ทำไมไม่กลับบ้านมันดึกแล้ว บ้านตาอยู่บุรีรัมย์ ตามางานฌาปนกิจหลานที่เพิ่งจมน้ำ เมื่อกี้ตาหลับอยู่ แล้วยุงกัด และเห็นรถเราพอดี ตาคิดว่ารถตำรวจ

เพราะเห็นคันใหญ่ ๆ มีไฟ ตาจะให้ตำรวจช่วยหาที่นอน จะเป็นโรงพัก หรือวัดก็ได้ เพราะตาไม่รู้ทางหลังจากดูบุคลิกท่าทางของตาซักระยะ ผมคิดว่าไม่น่าจะมีอะไร เลยพูดคุยซักถามที่มาที่ไป

ตาเล่าว่า ตาได้ข่าวว่าหลานชายอายุ 15 จมน้ำเสีຍชีวิต จากการที่ญาติไลน์มาบอกลูกสาว ตาขี่รถมอไซออกมาจากบ้านที่ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ประมาณ 5 โมงเช้า

มีเงินติดตัวอยู่ 300 บาท ไม่ได้บอกลูกและภรรยา บอกแต่คนข้างบ้านว่าจะไปหาหลาน ขี่มาเรื่อย ๆ จนถึงขอนแก่นระยะทางเกือบ 3 ร้อยกิโลเมตร มาถึงขอนแก่นประมาณ 5 โมงเย็น

ขี่ตรงเข้าไปบ้านน้องสาวก่อนเพราะไม่รู้สถานที่จัดงาน พร้อมเข้าไปกราบเท้าพ่อที่ป่วຍติดเตียงตามที่ตั้งใจไว้ เพราะไม่ได้เจอกันมาถึง 3 ปี

หลังจากเยี่ยมพ่อเสร็จ ก็ได้เจอน้องสาว แต่คำพูดแรกที่น้องสาวทักคือ “มาทำไม จะมาทวงเงินเหรอ เหมือนฟ้าผ่ากลางหัวใจ ตาบอกทำอะไรไม่ถูก ไม่รู้จะทำยังไง

ได้แต่เดินไปค้อมมอไซแล้วรีบขี่ออกมา พร้อมกับความน้อยเนื้อต่ำใจ ไม่รู้จะไปไหน คิดว่าต้องกลับบ้านที่บุรีรัมย์ ขี่ออกมาซักพัก เริ่มค่ำ ขี่ไม่ไหว ไฟท้ายรถก็ไม่มี เลยจอดนอนที่ปั๊ม แล้วก็มาเจอหลานที่แหละ

ขณะเดียวกันตาก็ยังเล่าเรื่องราวต่อไปว่า ตามาถึงที่แล้ว แต่ตาไปไม่ถึงหลาน ตาพูดพร้อมน้ำตา ทำไมเค้าพูดกับตาแบบนี้ พรุ่งนี้ตาตั้งใจจะไปถอนเงินที่ ธกส. พร้อมหยิบสมุดบัญชีขาด ๆ ออกมาโชว์

ตามีเงิน 600 ว่าจะถอนออกมาช่วยงาน “ตาเตรียมเสื้อผ้าใส่กระเป๋าใบเล็ก ๆ 2-3 ชุด ตั้งใจจะนอนกับญาติพี่น้อง แต่ไม่คิดว่าตัวเองจะต้องมานอนปั๊มแบบนี้”

น้ำตาของตาเริ่มไหลอีกเดี๋ยวผมเปิดห้องพักให้ครับตา จะได้นอนพักก่อน ขี่ต่อมันอันตราย รถบบรรทุกมันเยอะผมเสนอความช่วยเหลือ ไม่เป็นไร ตาไม่ได้จะขออะไร ตาแค่อยากมีคนคุยด้วย ตากำเงินเหรียญออกมาให้ดู…ตาพอจะมีอยู่

เมื่อเช้าตามีเงิน 300 บาท เติมน้ำมันเต็มถัง และกินข้าวไป 1 มื้อ 30 บาท ซื้อหน้ากากอนามัยอันนึง เพราะกลัวโดนจับ ตอนนี้เติมน้ำมันเต็มถังไปอีกรอบ เพื่อเตรียมขี่กลับ เหลือเงินประมาณ 40 บาท ก็น่าจะพอ

บทสนทนายังดำเนินต่อไป เอางี้ตา ผมขอแลกเงินตา ผมเอาบาทนึง แลกกับร้อยนึง ผมพูดพร้อมกับหยิบเงินในมือตามาบาทนึง และยืนแบงค์ร้อยให้หนึ่งใบ ตาร้องไห้อีกครั้ง

พร้อมถอดพระในคอออกมาให้1องค์…หลานเก็บไว้นะ แล้วตาขี่มายังไงไม่ใส่หมวก ไม่กลัวตำรวจจับ? … ตาไม่มี มีแต่หมวกทำนา ถ้าตำรวจจับก็จะบอกว่ากลับมาจากทำนา

ตา งั้นรออยู่นี่ก่อนนะ ผมเข้าบ้านก่อน เดี๋ยวผมกลับมาหา ผมกลับมาพร้อมหมวกกันน๊อค 1ใบ ไฟกระพริบสีแดงสำหรับติดจักรยาน และยื่นให้ตา

“ผมให้ครับตา.”… ตาน้ำตาซึมอีกแล้ว “ทำไมต้องเป็นเราที่มาพูดดีและทำดีกับตา” เอาน่าตา อย่างน้อยผมก็ยังอยากให้ตามีความทรงจำที่ดีที่ขอนแก่นอยู่

เราคุยกันอีกซักพัก ตาชวนผมไปบ้าน ให้แวะหา ถ้าผ่านไปทางนั้น ผมบอกให้ตานอนพักก่อน พร้อมเขียนเบอร์โทรศัพท์ไว้ให้เผื่อระหว่างทางมีอะไรจะได้มีเบอร์ให้โทรติดต่อ

(ตาไม่มีโทรศัพท์ทำหายตอนไปนา จำเบอร์ใครไม่ได้) และผมขออนุญาติถ่ายรูปบัตรเอกสารคุณตาไว้

เผื่อมีกรณีฉุกเฉิน…..หลังจากนั้นเราก็แยกย้ายผมไม่รู้นะ ผมอาจจะโดนหลอก สิ่งที่ตาเล่าจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เรื่องภายในครอบครัวของตาจะเป็นยังไงผมไม่ก้าวเกี่ยว

ผมรู้แค่ว่า…เมื่อต้นเดือนมีข่าวการจมน้ำเสีຍชีวิตของเด็กอายุ 15 จริง!!

ไม่ว่าจะยังไง….ถ้าผลบุญจากเหตุการณ์นี้เกิดและมันมีจริง ผมขอส่งผลบุญนี้ทั้งหมด ไปให้ถึงหลานตา แทนการไปไม่ถึงหลาน….ของตา

17.27 น. ตาก็ยืมโทรศัพท์ร้านค้าข้างทางโทรกลับมาขอบคุณ และบอกว่าอีก 9 กม.จะถึงบ้าน

18.15 คุณตาถึงบ้านแล้ว ปลอดภัຍ ใช้เบอร์ของ อบต หมู่บ้านโทรมา และอบต. แจ้งผมว่า หลานแต่เสีຍชีวิตตามที่เป็นข่าวจริง

ปล. ผมเขียนเพื่อบันทึกเป็นเรื่องราว และถ่ายทอดมุมมองของชีวิต ไม่มีเจตนาพาดพิงใครนะครับ

ผมเพื่อนดกดำเงางามกว่าผมคุณอีกใช่ไหม?

 

 

แหล่งที่มา: Rachot Wangkahart

เรียบเรียงโดย baansuann.com