หญิงชราตอนอายุ 40 ปี เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เลี้ยงลูก 13 คน ได้เป็นดอกเตอร์ทุกคน

วันนี้เราขอนำเสนอเรื่องราวที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อปี 1897 ที่เมือง Rugao จังหวัด Jiangsu มณฑล Nantong

มีสตรีชื่อ Wang Shuzhen ถือกำเนิดขึ้นมา เธอจบชั้นมัธยมต้น ชอบเขียนบทความ กลอน เพลง ถือว่าเป็นสตรีที่มีความรู้ในสมัยนั้น

ตอนเธออายุ 19 ปี เธอแต่งานกับ Li Haomin ลูกชายของเศรษฐีในเมืองเดียวกัน นับจากนั้นก็ใช้ชีวิตดูแลสามีเลี้ยงดูลูก

สมัยนั้นทุกบ้านมีความเชื่อว่าต้องมีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมืองเป็นเรื่องดี

บ้านตระกูล Li ก็ไม่แตกต่าง Wang Shuzhen ก็เลยมีลูกสาว 8 คนลูกชาย 5 คน

Wang Shuzhen นับถือศาสนาพุทธมาตั้งแต่เด็ก ๆ และมีโอกาสได้ร่วมหล่อพระพุทธรูปของสองตระกูล

ทำให้เป็นที่อิจฉาของคนทั่วไปมาก แต่ฟ้าก็ยังทดสอบคนเสมอ ปี 1948 ทั้งครอบครัวก็อพยามย้ายมาอยู่ไต้หวัน ปี 1949 Li Haomin ไปทำธุรกิจอีกเมืองหนึง

แต่โชคร้ายโดนทำร้ายจนเสีຍชีวิต ตอนอายุประมาณ 50 ปี เมื่อได้ยินข่าวร้าย ทั้งครอบครัวก็ตกใจ

แต่ Wang Shuzhen ไม่ถอดใจ เธอบินตามไปตามหาสามี แต่หลังเรื่องราวจบสิ้นลง

กลับกลายเป็นว่าสูญเสียทั้งคน และฐานะทางเศรษฐกิจก็แย่ลง

ตอนนั้นครอบครัวนี้เพิ่งมาถึงไต้หวันได้ไม่นาน แล้วสามียังมาจากกันไป

บ้านก็เลยเหลือแต่แม่ม่ายกับลูก ๆ ที่กำพร้าพ่อท่ามกลางบ้านเมืองที่แทบไม่รู้จักไร้ซึ่งญาติมิตร

แต่ Wang Shuzhen ไม่ยอมแพ้ เธอกัดฟันเลี้ยงดูครอบครัวมาด้วยตัวเอง ตอนนั้น Wang Shuzhen กับลูก ๆ 13 คนอาศัยอยู่ในเขต Taoyuan

ซึ่งถือเป็นเขตชนบทมาก ๆ แถมเด็ก ๆ เรียนหนังสือในเมือง ทำให้ต้องเดินกว่า 10 กิโลไปเรียนทุกวัน แม้ว่าจะแทบไม่มีกินแล้ว แต่เธอก็ยังยืนที่จะส่งลูกไปเรียนทุกคน

ตอนแรก ๆ ลูก ๆ ที่ยังเล็กไม่รู้สึกถึงผลกระทบของการที่พ่อจากไป แต่ต่อมาก็เริ่มรู้ว่าที่บ้านลำบากลงเรื่อย ๆ พวกเขาต้องเดินเท้าเปล่าไปโรงเรียน

น้อง ๆ ต้องนั่งเบียดบนโต๊ะหนังสือกับพี่ ๆ นอนเบียดบนเตียงเดียวกัน และใส่เสื้อผ้าด้วยกัน เวลาถึงวันหยุดก็ต้องไปขๅยหนังสือพิมพ์หาเงินมาช่วยครอบครัว

เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว Wang Shuzhen ต้องเปลี่ยนจากสถานะคุณนายน้อย มาเป็นหญิงรับใช้ รับจ้างเลี้ยงเด็ก ซักผ้า ทำกับจ้าว สอนดนตรี ในบ้านเศรษฐี อะไรก็ตามที่ทำได้ เธอทำหมด

เธอเคยบอกกับลูก ๆ ว่า ต้องเป็นคนดี ทำอะไรต้องตั้งใจ ไม่ต้องพูดเยอะ ลงมือทำให้เยอะ และเพราะความเป็นผู้ให้ ในความทรงจำของลูก ๆ

แม่เป็นคนประเภทที่ถึงจะยังไม่มีกินมื้อต่อไป แต่ถ้ามื้อนี้มีข้าวเหลือแล้วมีคนมาขอก็จะให้ คำพูดติดบากของเธอคือ เป็นคนต้องอดทน เข้มแข็ง มีน้ำใจ

เธอกัดฟัดเลี้ยงดูลูก ๆ จนเติบโต และบอกเด็ก ๆ ว่า ในอนาคตต้องเติบโตในหน้าที่การงาน

ซึ่งในจุดนี้ Wang Shuzhen เข้มงวดจนดูไม่มีเหตุผล Li Changyu ลูกชายคนหนึ่งของเธอจบโรงเรียนตำรวจ เป็นผู้ตรวจการที่หน้าที่การงานไม่เລว แต่เธอก็ยังบอกลูกว่า

เจ้าต้องเรียนต่อไป ปริญญาโทไม่พอ ต้องต่อเอกด้วย เธอปรารถนาให้ลูก ๆ ทุกคนเป็นยอดคน

ไม่เพียงแค่โตขึ้นมา แต่ต้องโตมาแบบมีคุณภาพ ทำให้วันนี้ลูก ๆ ทั้ง 13 คนก็เธอเป็นดอกเตอร์ ทุกคนกลายเป็นความมหัศจรรย์ของโลก

ลูก ๆ ของเธอประกอบอาชีพหลากหลายสาขา อาทิ นักธุรกิจ, นักออกแบบ, วิศวกร, ศิลปิน, นักโฆษณา, พนักงานด้านหลักทรัพย์ , IT และอื่น ๆ

เรียกได้ว่าเป็นผลงานที่น่าประทับใจ ซึ่งคุณแม่คนนึงภาคภูมิใจที่ทำได้ นอกจากการสั่งสอนที่เข้มงวดแล้ว

รายละเอียดในชีวิต Wang Shuzhen ก็ให้ความสำคัญ ปกติเวลาอยู่ที่บ้าน เธอจะบังคับให้ลูกพูดสำเนียงของบ้านเกิด

เพื่อให้พวกแกไม่ลืมถิ่นกำเนิดตัวเอง Wang Shuzhen ไม่ได้ไปอยู่สหรัฐอเมริกากับลูก ๆ ตั้งแต่แรก

เมื่อปี 1959 ตอนอายุได้ 62 ปีเธอถึงตัดสินใจไปอยู่ที่นั่น ที่น่าอัศจsรย์ก็คือ เธอที่ไม่เคยพูดภาษาอังกฤษเลย

สามารถใช้เวลาอันสั้นเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองจนสอบผ่านเกณฑ์สามารถได้รับกรีนการ์ดได้

นี่คงเป็นการบอกย้ำอีกครั้งว่าเธอเป็นคนมุ่งมั่นและฉลาดแค่ไหน

มีลูก ๆ 3 คนของเธที่ได้รับรางวัล Ten Outstanding Young Americans

เนื่องจากผลงานอันยอดเยี่ยมของเธอ ประธานาธิบดีคลินตัน และประธานาธิบดีบุช

ได้เขียนจดหมายถึงเธอในวันแม่ว่าเธอเป็นแม่ที่ยิ่งใหญ่

ตอนที่เธออายุครบ 100 ปี ประธานาธิบดีคลินตันพร้อมภรรยาของเขา และนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กเดินทางไปร่วมอวยพรวันเกิด

เพื่อแสดงความยินดีกับผู้สูงอายุ ในงานวันเกิดลูก ๆ ถามเธอว่าเธออยากได้อะไรเป็นของขวัญ

แม่อยากกลับไปสร้างโรงเรียนให้เด็กๆ ในเมืองจีน ประโยคง่ายๆ ที่บอกว่าเธอรักประเทศแค่ไหน

ทั้งนี้ ในปี 2003 Wang Shuzhen เสีຍชีวิตที่นิวยอร์ก ด้วยวัย 103 ปี งานศwถูกจัดอย่างยิ่งใหญ่

ในพิธีศwมีรถจักรยานยนตร์นำหน้าปิดถนน แม้แต่ผู้จัดงานศwยังบอกว่า พวกเราทำหน้าที่จัดงานศwมา 3 ชั่วอายุคน

ไม่เคยจัดงานศwไหนใหญ่ขนาดนี้มาก่อน ชาวจีนหลายคนต่างภูมิใจสตรีที่ใช้ชีวิตใน 3 ศตวรรษ

เป็นแม่ที่สมควรได้รับคำสรรเสริญ และเอาเป็นแบบอย่าง แม้ว่าเธอจะจากไปแล้ว แต่ตำนานของเธอยังอยู่

 

 

แหล่งที่มา: palungjit

เรียบเรียงโดย baansuann.com