โซเชียลแห่ถล่ม เพจประกันสังคม ปมถือหุ้น ศรีพันวา ช่วยเหลือประชาชนยากเย็น

วันนี้เราจะมาติดตามกรณีที่มีชาวเน็ตแห่ถล่มเพจ ประกันสังคม หลังออกมาชี้แจงปมถือหุ้น ศรีพันวา ถามบอร์ดใช้เกณฑ์ไหนตัดสินใจลงทุน บอกเวลาประชาชนขอความช่วยเหลือสุดยากเย็น

ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง หลังจากที่แฮชแท็ก #แบนศรีพันวา ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ เพราะหลายคนไม่พอใจที่ ปลาวาฬ ไฮโซหนุ่ม เจ้าของรีสอร์ตศรีพันวา ได้โพสต์ต่อว่า รุ้ง ปนัสยา ขณะขึ้นเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 63 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีกลุ่มคนที่สนับสนุน ศรีพันวา และออกมาโต้ตอบกลุ่มออกมาแบนด้วยเช่นกัน โดยบอกว่าส่วนใหญ่คนที่ออกมาแบนนั้นเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีความสามารถพอที่จะเข้าไปพักได้ เนื่องจากราคาห้องที่สูงเกินกว่าจะจ่าย

ต่อมา ปลาวาฬ-วรสิทธิ์ อิสสระ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ไม่เห็นด้วยกับแกนนำที่ขึ้นไปปราศรัยบนเวที พร้อมทั้งยืนยันว่าตนไม่ได้สนับสนุนฝ่ายใดเป็นพิเศษ สนับสนุนเพียงแค่ตัวเองเท่านั้u แต่ตนไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม ทั้งไม่ได้สนใจกลุ่มชาวเน็ตที่ออกมาแบนรีสอร์ตของตน เพราะชาวเน็ตเหล่านี้ ไม่ใช่กลุ่มลูกค้าของตน

จากนั้น โซเชียลมีการตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของศรีพันวาลำดับที่ 1 คือ สำนักงานประกันสังคม ที่จำนวนหุ้น 63,072,615 หุ้น คิดเป็น 22.60 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คนในโลกทวิตเตอร์ และโซเชียลมีเดีย ต่างตั้งคำถาม และ มีการถกเถียงในประเด็นนี้กันอย่างกว้างขวาง

กระทั่ง วันที่ 22 ก.ย. 63 ที่ผ่านมา สำนักงานประกันสังคม ได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กระบุตอนหนึ่งว่า “สำนักงานประกันสังคมมีการลงทุนในกองทรัสต์ SRIPANWA ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกองทุนในปี 2556 มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 6% และได้รับเงินปันผลจากการลงทุนแล้ว จำนวน 229 ล้านบาท

และตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนสิงหาคม 2563 กองทุนประกันสังคมมีการลงทุน และมีผลตอบแทนที่รับรู้แล้วจำนวนกว่า 33,000 ล้านบาท”

ทั้งนี้ วันที่ 23 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ สำนักงานประกันสังคม กระทรแวงแรงงาน ได้ออกมาชี้แจงกรณีการถือหุ้น ศรีพันวา ไปแล้วนั้น พบว่ามีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในโพสต์ที่สำนักงานประกันสังคมได้ชี้แจงไว้เป็นจำนวนมาก เช่น

“Fund Manager จะรับผิดชอบยังไง บอร์ดใช้เกณฑ์ไหนตัดสินใจในการลงทุน ธุรกิจขาดทุนต่อเนื่อง หลายร้อยล้านบาท มาตลอดแบบนี้ ก่อนคุณจะลงทุน คุณมองกำไรสุทธิ ย้อนกลับไป 3-5 ปี

คุณก็น่าจะรู้ระดับความเสี่ยงอยู่แล้ว แต่คุณช้อนซื้อต่อในช่วงวิกฤตโควิดที่ ปชช ต้องการความช่วยเหลือจากเงิน กองทุน ปกส การลงของเงินกองทุนมหาศาล ในช่วงโควิดนี้ คุณคิดยังไง? คุณจะบอกว่าซื้อตอนร่วงไว้ทำกำไร

คุณก็น่าจะรู้อยู่แก่ใจว่ามันขาดทุนมาตลอด หลายร้อยล้านบาท แล้วที่สำคัญ ควรเอาเงินมาลงทุนซื้อในช่วงโควิดที่ต้องเอาเงินมาช่วยเหลือ ปชช ไหม? แล้วทำไมถึงกล้าเสี่ยงกับธุรกิจ ที่มีเพียง นส.3 ก. และยังสร้างบนที่ดินที่มีความลาดเอียงเกิน 35 องศาได้อีก? #ทำอะไรควรมีมาตรฐานและรัดกุมมากกว่านี้เพราะนี่คือเงินของประชาชน

นอกจากนี้ ยังถามถึงมาตรการดูแลผู้ที่ตกงาน ซึ่งได้มีการลงทะเบียนไปแล้ว แต่เวลาผ่านไป 4-5 เดือนก็ยังไม่รับการดูแล เวลาจ่ายคืนก็มีความล่าช้า ฯลฯ

มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

แหล่งที่มา: khaosod

เรียบเรียงโดย baansuann.com